โรคอ้วน ภัยร้ายทำลายสุขภาพ ตอนที่ 2 💣กับหมอแอมป์ 😊😊😊
วงจรของการเกิดโรคอ้วน อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น โรคประจำตัว หรือพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต โดยนายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ หรือหมอแอมป์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และผู้อำนวยการบีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก
ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคอ้วน พร้อมกับเคล็ดลับการหลี่กเลี่ยงสาเหตุดังกล่าวเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
สาเหตุหลักของโรคอ้วน ได้แก่
🔖 1. การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลทำให้ฮอร์โมนต่าง ๆ ทำหน้าที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายควรเข้านอนก่อน 22.00 น. และนอนหลับอย่างน้อย 8-9 ชั่วโมงต่อวัน โดยค่าเฉลี่ยการนอนหลับลึกอยู่ที่ประมาณ 15-20%
🔖 2. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน หรือเคลื่อนไหวร่างกายแบบง่าย ๆ
🔖 3. ความผิดปกติภายในของร่างกาย รวมถึงระบบเผาผลาญที่อาจทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ
🔖 4. พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณ อาหารเค็มจัด หวานจัด อาหารแปรรูป หรือเครื่องดื่มจำพวก น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ชานมไข่มุก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาหารใน 1 จาน/มื้อ ควรมีปริมาณ ผัก 2 ส่วน แป้ง 1 ส่วน และโปรตีน 1 ส่วน
🔖 5. ความเครียด จะมีผลกระทบต่อการลดน้ำหนัก ควรเริ่มต้น ปล่อยวาง คิดบวก นั่งสมาธิครึ่งชั่วโมงก่อนนอน และปิดทีวี ปิดมือถือ 2 ชั่วโมงก่อนนอน
นอกเหนือจากสาเหตุหลักของโรคอ้วนทั้ง 5 ข้อ แล้ว พันธุกรรมก็ยังมีผลกระทบที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนได้เช่นกัน ทั้งนี้ควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์ตรวจหาความผิดปกติของยีนต่อไป
ลดอ้วน ลดพุง ลดพฤติกรรมเสี่ยง
♥ด้วยความปรารถนาดีจาก BDMS Wellness Clinic♥
Credit: BDMS Wellness Clinic
………………..
ชมคลิปอื่น ๆ ของ BDMS Wellness Clinic ได้ที่ https://www.youtube.com/c/bdmswellnessclinic
………………..
📍 LINE: @bdmswellnessclinic or http://nav.cx/aTOF5Hr
#BDMSWellnessClinic #PreventiveMedicine
#สุขภาพที่ดีเริ่มที่การป้องกัน
#โรคอ้วน #Obesity #ภูมิคุ้มกัน
แหล่งที่มา:
1. Spaeth AM. Insufficient sleep and obesity. Sleep and Health: Elsevier; 2019. p. 189-201.
2. Schneider PL, Bassett DR, Thompson DL, Pronk NP, Bielak KM. Effects of a 10,000 Steps per Day Goal in Overweight Adults. American Journal of Health Promotion. 2006;21(2):85-9.
3. หนังสือเอกสารเผยแพร่ ไร้พุง ลดโรค กินถูกส่วน 2:1:1 โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เข้าถึงได้จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/…/article_20160323133635…
4. Björntorp P. Do stress reactions cause abdominal obesity and comorbidities? Obesity reviews. 2001;2(2):73-86.
5. Castellini G, Franzago M, Bagnoli S, Lelli L, Balsamo M, Mancini M, et al. Fat mass and obesity-associated gene (FTO) is associated to eating disorders susceptibility and moderates the expression of psychopathological traits. PLoS One. 2017;12(3).
ป้ายกำกับ: